วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อ้างอิง

อ้างอิง

(21.มิ.ย.57) http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2

เงินบาท

เงินบาท



    เงินบาท เป็นสกุลเงินตราประจำชาติของประเทศไทย เดิมคำว่า "บาท" เป็นหนึ่งในคำใช้เรียกหน่วยการชั่งน้ำหนักของไทย ปัจจุบันยังมีใช้ในความหมายเดิมอยู่บ้าง โดยเฉพาะในการซื้อขายทองคำ เช่น "ทองคำวันนี้ราคาขายบาทละ 20,550 บาท" หมายถึงทองคำหนักหนึ่งบาทสามารถขายได้ 20,550 บาท ในสมัยที่เริ่มใช้เหรียญครั้งแรก เงินเหรียญหนึ่งบาทนั้นเป็นเงินที่มีน้ำหนักหนึ่งบาทจริง ๆ ไม่ได้ทำด้วยทองแดงนิกเกิลเช่นในปัจจุบัน
   เหรียญไทยนั้นผลิตออกมาโดยสำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยสามารถผลิตออกใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนโดยไม่ต้องมีสิ่งใดมาค้ำประกัน เพราะโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญกปาษณ์นั้นมีค่าในตัวเองอยู่แล้ว ส่วนธนบัตรนั้นผลิตและควบคุมการหมุนเวียนโดยธนาคารแห่งประเทศไทย การผลิตธนบัตรนำออกใช้จะมีหลักเกณฑ์วิธีที่เหมาะสมเพื่อให้เศรษฐกิจของชาติมีเสถียรภาพ

ปอนด์อังกฤษ (GBP)

ปอนด์อังกฤษ (GBP)



เงินปอนด์เริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 1320 ราชอาณาจักรซักซอน (อาจเรียกว่าพวกอังกฤษสมัยโบราณก็ได้ แต่ความจริงแล้ว ซักซอนไม่ได้เป็นบรรพบุรุษโดยตรงของอังกฤษปัจจุบัน) ได้ทำเหรียญกษาปณ์ขึ้นจากโลหะเงินแท้ น้ำหนัก 1 ปอนด์ ซึ่งได้เหรียญเงินเป็นจำนวน 240 อัน เรียกว่าเหรียญสเตอร์ลิง และด้วยน้ำหนักเท่ากับ 1 ปอนด์นี้เอง เมื่อต้องใช้จ่ายเงิน ก็จะบอกค่าเป็นจำนวนปอนด์ของเหรียญสเตอร์ลิง (pounds of sterlings) และภายหลังเรียกสั้นลงว่า ปอนด์สเตอร์ลิง (pound sterling)
ครั้นเมื่อพวกนอร์มัน (Norman) เข้ามาครองอำนาจแทนพวกซักซอน พวกนี้ได้แบ่งหน่วยเงินตราปอนด์ออกเป็นหน่วยย่อย คือ 1 ปอนด์ แบ่งได้ 20 ชิลลิง (shilling) และ 1 ชิลลิง ยังแบ่งได้อีกเป็น 12 เพนนี (เอกพจน์ penny, พหูพจน์ pennies หรือ pence)
เรื่องค่าของปอนด์นั้นยังไม่จบ เพราะตัวย่อของปอนด์นั้นมีปัญหา เมื่ออักษรย่อของปอนด์นั้น ใช้ lb หรือ £ ซึ่งทำให้สับสน และอักษรย่อ หรือเครื่องหมายดังกล่าว มีที่มาจากคำว่า libra ในภาษาละตินสมัยกลาง ความจริงแล้ว คำว่า ลิบรา ก็คือ ตาชั่ง (คำเดียวกับที่เรียกกลุ่มดาวราศีตุล) สำหรับอักษร £. นั้น ก็คือตัว L นั่นเอง (ใช้ได้ทั้งสองแบบ) ในตำราเก่าๆ บางครั้งเขียน l. เฉยๆ ก็มี
ส่วนชิลลิงนั้น ใช้อักษรย่อว่า s เฉย ๆ ตัวอักษรนี้ไม่ได้ย่อจาก shilling แต่มาจาก solidus ในภาษาละติน สำหรับหน่วยเล็กสุด คือ เพนนีนั้น ย่อเป็น d เพราะในภาษาละตินนั้น หน่วยเล็กสุดของค่าเงินคือ denarius เราจึงอาจพบการเขียนบอกจำนวนเงินเป็น 2l. 8s. 5d. นั่นคือ 2 ปอนด์ 8 ชิลลิง กับอีก 5 เพนนี
สำหรับเหรียญชิลลิงนั้น มีค่าเท่ากับ 12 เพนนี เดิมเรียกว่าเทสทัน หรือเทสทูน (teston, testoon) เริ่มมีครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2047 มีการแกะสลักเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ครั้นในสมัยรัชกาลพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ก็ยังคงใช้เหรียญค่านี้ แต่เรียกใหม่ว่า ชิลลิง ส่วนที่มาของชื่อนั้น จริงๆ แล้วยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่เข้าใจว่าเรียกตามเหรียญของพวกอังโกล-ซักซอน คือสคีลลิง (scilling, scylling) และบางรัฐของเยอรมนีก็มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ที่เรียกว่า ชิลลิง (schilling) เหมือนกัน
ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2464 ค่าของชิลลิงเป็นแต่ชื่อเรียกเท่านั้น ไม่ได้มีการผลิตเหรียญเงินค่าชิลลิงออกมา และอีก 26 ปีต่อมา มีการผลิตเหรียญชิลลิง โดยใช้โลหะผสมระหว่างทองแดง และนิกเกิล เรียกว่าโลหะคิวโพรนิเกิล เมื่อถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 อังกฤษได้เปลี่ยนมาตราเงินแบบเทียบร้อยตามหลักสากล คือ 100 เพนนี เป็น 1 ปอนด์ โดยไม่ใช้หน่วยชิลลิงอีก ทำให้อักษรย่อชิลลิงจึงหมดไป อักษรย่อเพนนี เปลี่ยนจาก d เป็น p ซึ่งย่อมาจากคำว่าเพนนี (penny) โดยตรง

อัตราการแลกเปลี่ยน 
55.33 บาทไทย = 1 ปอนด์

เยนญี่ปุ่น (JPY)

เยนญี่ปุ่น (JPY)


   เป็นสกุลเงินที่มีการซื้อขายมากเป็นอันดับสามในการเทรดฟอร์เร็กซ์ จุดแข็งของสกุลเงินเยนนั้นก็คือ มีความคล่องตัวทางการเงินค่อนข้างสูง เป็นที่นิยมในการแลกเปลี่ยนซื้อขายทั่วโลกอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามกลุ่มเทรดเดอร์ที่เทรดเงินสกุลเยนสูงที่สุดก็คือกลุ่มบริษัททางการเงินและเศรษฐกิจจากประเทศญี่ปุ่นเอง

อัตราการแลกเปลี่ยน 
0.32 ไทย = 1 เยนญี่ปุ่น

ยูโร (EUR)

ยูโร (EUR)


เงินสกุลยูโรนั้นเป็นคู่แข่งสำคัญของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ และเป็นสกุลเงินที่มีความแข็งค่าสกุลเงินหนึ่งบนตลาดฟอร์เร็กซ์ อย่างไรก็ตามหลังจากที่หลาย ๆ ประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรปต้องเผชิญกับสภาวะอัตราการว่างงานสูง และโครงสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่สมดุล จึงส่งผลให้เงินสกุลยูโรมีความอ่อนค่าลงมาในระยะหลัง

ดอลลาร์สหรัฐฯ (USD)

ดอลลาร์สหรัฐฯ (USD)



เป็นสกุลเงินหลักทั้งในตลาดโลกและตลาดฟอร์เร็กซ์ โดยถือว่าเป็นเงินสกุลที่มีความมั่นคงสูงที่สุด และเป็นเงินสกุลหลักที่ใช้เพื่ออ้างอิงค่าเงินสกุลอื่น ๆ ทั้งหมด สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ นั้นได้รับบทบาทเด่นมาตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา

สกุลเงินตรา

สกุลเงินตรา

สกุลเงินคือหน่วยที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนในรูปแบบของเงินตรา สกุลเงินจะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศหรือกลุ่มประเทศ โดยการแลกเปลี่ยนเงิน.[1] หรือการซื้อของหรือบริการ ระหว่างประเทศที่ใช้สกุลเงินต่างกัน จะใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงิน เป็นเกณฑ์ในการอ้างอิง ในหลายๆ ประเทศสกุลเงินสามารถมีชื่อเดียวกันได้เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์ฮ่องกง และดอลลาร์แคนาดา และในหลายประเทศใช้ สกุลเงินเดียวกัน เช่นในประเทศแถบยุโรปหลายประเทศใช้สกุลเงินกาตาร์ และในบางประเทศใช้หน่วยเงินของประเทศอื่นเป็นเกณฑ์เช่นประเทศปานามา และ ประเทศเอลซาวาดอร์ ใช้สกุลเงิน ดอลลาร์สหรัฐ
สกุลเงินทั่วไปจะมีหน่วยสกุลเงินย่อย โดยส่วนมากจะเป็นอัตราส่วน 1/100 ของสกุลเงินหลัก เช่น 100 สตางค์ = 1 บาท หรือ 100 เซนต์ = 1 ดอลลาร์ แต่บางสกุลเงินจะไม่มีหน่วยย่อยเช่น สกุลเงินเยน ในหลายหลายประเทศเนื่องจากเงินเฟ้อ ทำให้สกุลเงินย่อยมีการเลิกใช้ไป
สกุลเงินที่ถูกบัญญัติขึ้นขึ้นมาใหม่คือสกุลเงิน "เบย" โดยที่มีชนเผ่ามายันและเผ่ามาเย่อ ได้ร่วมมือกันสร้างขึ้นขณะที่ยังเจริญรุ่งเรืองอยู่ ด้วยว่าหมอดูของเผ่าทำนายว่า ค่าเงินตรายูโรในอนาคตอาจล่มสลายได้ จึงบัญญัติสกุลเงินนี้ขึ้นมาสำรองไว้ ซึ่งจะประกาศใช้ในยูโรโซนที่แรกและเปลี่ยนชื่อเป็น เบยโซน โดยในอนาคตได้มีแผนดึงให้ทั่วโลกมาใช้สกุลเงินเดียวกันเพื่อนความปรองดองสามัคคี